วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

ระวัง! ยาใกล้ตัวลูกรัก

ยาน้ำ
ยาน้ำสำหรับเด็ก




ระวัง! ยาใกล้ตัวลูกรัก (Mother & Care )

           เมื่อลูกเจ็บป่วยไม่สบาย คุณพ่อคุณแม่อาจมีความจำเป็นต้องใช้ยากับลูก ฉะนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจคือ การใช้ยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม และเพื่อเตรียมพร้อมเรื่องสุขภาพลูกน้อย รวมทั้งวิธีการใช้ยาตามอาการ พร้อมกับคำแนะนำ เรามาฟังข้อมูลจาก พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์ ค่ะ

 1. ยาลดน้ำมูก

           กลุ่ม ยาลดน้ำมูกที่โดยทั่วไปเป็นยาแก้แพ้ผสมกับยาลดอาการบวมในจมูก และรวมถึงกลุ่มยาแก้แพ้เพียงอย่างเดียว ที่ช่วยลดน้ำมูกได้ด้วย เช่น คลอเฟมิลามีน ทั้งนี้ การใช้ยาลดน้ำมูกในเด็กจะต้องระวังให้มาก เพราะยาแก้แพ้แม้ช่วยลดน้ำมูกก็จริง แต่ทำให้เสมหะแห้งไปด้วย ดังนั้น เมื่อลูกไม่สบายมีน้ำมูกพร้อมกับมีเสมหะ แล้วกินยาลดน้ำมูกอาจทำให้เสมหะเหนียวจนอุดตันหลอดลม มีผลต่อการนอนหลับของลูกได้ เพราะเด็กเล็กไม่สามารถขับเสมหะได้เหมือนผู้ใหญ่ ดังนั้น ก่อนเลือกใช้ยาลดน้ำมูก จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์


ข้อควรระวัง

            ยาลดน้ำมูกห้ามใช้กับเด็กที่เป็นหอบหืด เนื่องจากเสมหะจะเหนียวจนทำให้เกิดอาการหอบได้

            การได้รับยาลดน้ำมูกที่เกินขนาด จะทำให้กดการหายใจและอาจชักได้ และไม่ควรซื้อยาลดน้ำมูกตามร้านค้าทั่วไปมาใช้เองโดยเด็ดขาด

คำแนะนำ

           ถ้า ลูกยังกินนมปกติ หายใจไม่หืดหอบ ติดขัด น้ำมูกเหลวไม่มีสีเขียว เหลือง (ติดเชื้อแบคทีเรีย) หรือมีน้ำมูกเล็กน้อย ด้วยเพราะอากาศเปลี่ยนแปลง คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลอาการในเบื้องต้นได้ก่อน โดยใช้น้ำเกลือหยอดจมูกหรือใช้ลูกยางแดงดูดออก หากอาการยังไม่มีดีขึ้นภายใน 2-3 วันควรรีบพาไปพบแพทย์

 2. ยาลดไข้

           ยา ลดไข้ที่จำหน่ายในท้องตลาด เป็นกลุ่มยาพาราเซตามอลที่มาในรูปแบบของไซรัป มีหลายขนาด และความเข้มข้น ดังนั้น สิ่งสำคัญในการใช้ยาลดไข้กับลูกน้อยคือ คำนึงถึงน้ำหนักของตัวเด็กประกอบการใช้ยา ซึ่งในเด็กเล็กจะเป็นรูปแบบของดรอฟ (ขนาด 20 ซี.ซี.) ปริมาณการใช้ที่เหมาะสมคือ ปริมาณ 0.1 ซี.ซี.ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ต่อหนึ่งครั้ง

ข้อควรระวัง

           ปฏิบัติ ตามคำสั่งของแพทย์ เพราะหากเกินขนาด ก็อาจเป็นอันตรายต่อตับและไต โดยเฉพาะกลุ่มยาลดไข้สูง ต้องพึงระมัดระวัง เพราะสามารถกัดกระเพาะได้หากกินยาในขณะที่ท้องว่าง หรือการกินยาแอสไพรินเพื่อลดไข้อาจไม่แนะนำ เพราะหากลูกมีโรคบางอย่าง เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคอีสุกอีใส ก็อาจทำให้ตับวาย เป็นอันตรายถึงชีวิต

คำแนะนำ

           เด็ก เล็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนมีไข้สูง นอกจากกินยาเพื่อลดไข้ที่บ้านทุกๆ 4-6 ชั่วโมงแล้ว แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ด้วย สำหรับไข้ต่ำ ก็มีวิธีที่จะช่วยให้ไข้ลดลงด้วยการเช็ดตัว และสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่หนาเกินไป หรืออยู่ในห้องที่ร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไป เพื่อระบายอากาศ

ยาน้ำลดไข้

 3. ยาละลายเสมหะ

           การ ไอในเด็กเล็กเป็นลักษณะการไอที่รู้สึกไม่สบายลำคอ และเมื่อเสมหะในลำคอหมด (ร่างกายสามารถขับเสมหะออกผ่านทางการไอ) อาการไอจะค่อย ๆ ทุเลาลง หากพบว่าเสมหะยังเหนียวและลูกน้อยไอขับออกลำบาก ก็ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อดูแลอาการอย่างเหมาะสมต่อไป

ข้อควรระวัง

           การ ใช้ยาระงับไอหรือเสมหะ อาจจะยังไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ เนื่องจากทำให้เกิดการคั่งค้างของเสมหะ เพราะถ้าลูกดื่มน้ำได้มากพอ ไอไม่รุนแรง การใช้ยากลุ่มนี้ก็ไม่จำเป็น

คำแนะนำ

           ให้ลูกดื่มน้ำอุ่นบ่อย ๆ จะช่วยละลายและขับเสมหะได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น