วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

การฝากครรภ์

การฝากครรภ์




ฝากครรภ์…ทำกันยังไง

นอกจากการบอกข่าวดีนี้ให้ว่าที่คุณพ่อ และญาติสนิทมิตรสหายได้รับรู้และร่วมยินดี มีเรื่องอะไรที่ฉันต้องรีบทำเพื่อเตรียมตัวเป็นแม่

เรื่องที่ต้องทำเป็นอันดับแรกนั้นก็คือ…ไปฝากครรภ์ยังไงล่ะ

ไม่ต้องรอให้ครบ 2 หรือ 3 เดือน ไม่ต้องรอทดสอบด้วยตัวเองหลายๆ ครั้ง เพื่อให้มั่นใจก่อน สงสัยว่าตั้งครรภ์เมื่อไหร่ก็จูงมือว่าที่คุณพ่อไปพบสูตินรีแพทย์ได้เลย เพราะการพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อย จะช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับทั้งตัวคุณแม่และลูกน้อยได้มากกว่าการไปฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์มากแล้ว เรียกว่ามีอะไรน่าสงสัยจะได้ป้องกันแก้ไขได้ทันท่วงทียังไงล่ะ


การฝากครรภ์
ฝากครรภ์…ทำกันยังไง

ก่อนอื่นคุณหมอจะทำการตรวจปัสสาวะทดสอบให้แน่ใจว่าคุณตั้งครรภ์แล้วจริงๆ และจะถามคำถามเกี่ยวกับสุขภาพโดยทั่วไป เช่น ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ สุขภาพโดยรวมแข็งแรงดีมั้ย? มีโรคประจำตัวหรือเปล่า? ตั้งครรภ์นี้เป็นครรภ์ที่เท่าไหร่? เคยแท้งบุตรหรือไม่? ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ คุณหมอจะนำมาประกอบการดูแลคุณแม่ ตลอดช่วงการตั้งครรภ์

หากคุณหมอถามคำถามที่ทำให้คุณแปลกใจ ว่าเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ตรงไหน อย่างถามว่า คุณใส่รองเท้าเบอร์อะไร ก็อย่าสงสัยไปเลยค่ะ เพราะคุณหมอจะสามารถกะขนาดของกระดูกเชิงกรานของคุณ เพื่อวางแผนการคลอดได้จากขนาดของรองเท้านี่แหละ

แล้วคุณหมอก็จะชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง เพื่อแนะนำเรื่องโภชนาการ หากคุณแม่มีน้ำหนักมากอยู่แล้ว คุณหมอจะแนะนำให้ควบคุมน้ำหนัก โดยรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง แต่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตต่ำ จากนั้นก็จะทำการวัดความดันโลหิต, ตรวจเลือดหาเชื้อซิฟิลิส, เอชไอวี, ไวรัสตับอักเสบ, ดูความสมบูรณ์ของเลือด, หมู่เลือด, ตรวจการทำงานของหัวใจ, ปอด, ตรวจปัสสาวะ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการตรวจในครั้งต่อไป

นอกจากนั้นอาจจะมีการตรวจลักษณะภายนอกของท้องเพื่อเช็คดูขนาดของมดลูก บางรายอาจต้องตรวจเต้านม และตรวจภายในด้วย

กรณีที่แม่มีปัจจัยเสี่ยงสูง เช่น คุณแม่อายุเกิน 35 ปี หรือมีโรคประจำตัวบางอย่างที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำ ก็จะมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติม



การฝากครรภ์
จุดมุ่งหมายในการฝากครรภ์นั้นเพื่อให้แน่ใจว่าคุณแม่และทารกในครรภ์จะมีสุขภาพดี แข็งแรงตลอดการตั้งครรภ์ การฝากครรภ์จึงมีความสำคัญมากสำหรับคุณแม่ เพราะหากมีปัญหาหรือสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างนั้น คุณแม่จะได้รีบปรึกษาคุณหมอและเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที

ดังนั้น อย่ามัวรีรอ ไปพบแพทย์เพื่อตรวจและฝากครรภ์ทันทีที่สงสัยว่าตั้งครรภ์ หรืออย่างช้าไม่ควรเกิน 3 เดือนหลังจากประจำเดือนขาดหายไป


การใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์นั้นควรทดสอบกับปัสสาวะตอนเช้า เพราะจะมีระดับฮอร์โมนที่เข้มข้น และควรใช้ช่วงกลางของปัสสาวะ ชุดทดสอบส่วนมากจะมีความแม่นยำมากเมื่อคุณตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ขึ้นไป

วิธีการใช้มี ดังนี้

1. จุ่มแถบทดสอบลงในถาดปัสสาวะ ประมาณ 30 นาที
2. นำแถบวางพาดบนถาดใส่ปัสสาวะ หรือวางบนพื้นราบๆ รอประมาณ 3 นาที
3. ถ้าปรากฏแถบสีชมพูขึ้นเพียงขีดเดียวแสดงว่าไม่ตั้งครรภ์ แต่ถ้าแถบสีชมพูขึ้น 2 ขีด ล่ะก็ เตรียมตัวไปฝากครรภ์ได้เลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น