วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระยะต่างของการคลอด





ระยะต่างๆ ของการคลอดที่แบ่งออกเป็น 3 ระยะนั้น มีอะไรบ้าง


การเจ็บท้องคลอดเป็นกระบวนการของร่างกาย โดยมดลูกจะเริ่มหดรัดตัวและปากมดลูกของคุณแม่จะเปิดขยายเพื่อให้ทารกสามารถเคลื่อนผ่านออกมาสู่โลกภายนอก 
ระยะที่หนึ่งจะประกอบด้วยระยะย่อยๆ คือระยะเริ่มต้น ระยะเร่ง และระยะเปลี่ยนผ่าน ในแต่ละระยะนี้ ปากมดลูกของคุณแม่จะเริ่มบางตัวและเปิดกว้างออกจนถึง 10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมคลอด ส่วน ระยะที่สองของการคลอด เป็นระยะเบ่งคลอดที่คุณแม่จะเบ่งคลอดลูกน้อยออกมา และระยะที่สาม จะเป็นระยะคลอดทารก 

ระยะที่หนึ่ง


การคลอดระยะที่หนึ่งอาจใช้เวลานานหลายชั่วโมง หรือในบางกรณีอาจยาวนานเป็นวันๆ ดังนั้น คุณแม่จึงไม่ควรตกใจเมื่อเริ่มเจ็บท้องในช่วงเริ่มต้น

ความรู้สึกในช่วงต้นของการเจ็บท้องคลอด

สำหรับคุณแม่หลายท่าน อาการแรกสุดของการเจ็บท้องคลอด ก็คือ ความรู้สึกปวดหน่วงๆ คล้ายกับการปวดท้องเวลามีประจำเดือน นอกจากนี้ คุณแม่อาจมีอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ หรือรู้สึกปวดท้องหรือปวดหลังร่วมด้วย คุณแม่บางท่านอาจท้องเสีย รู้สึกไม่สบาย หรือคลื่นไส้อาเจียน ทั้งนี้ เพราะในระยะเริ่มต้นของการเจ็บท้องคลอด ระบบการย่อยอาหารของคุณแม่จะทำงานช้าลง ดังนั้น คุณแม่ควรรับประทานอาหารเบาๆ แทน เช่น ซุป ซีเรียล หรือขนมปังปิ้ง และดื่มน้ำมากๆ ในตอนแรกคุณแม่อาจจะไม่ทราบว่าความรู้สึกไม่สบายตัวนี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเริ่มเจ็บท้องคลอด แต่เมื่ออาการเหล่านี้ค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นอาการปวดรุนแรงเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ หรือที่เรียกว่า การหดรัดตัวของมดลูก  คุณแม่ก็จะทราบว่า กำลังเข้าสู่ช่วงของการเจ็บท้องคลอดแล้ว

มีมูกขาวข้นออกทางช่องคลอด

ในช่วงที่คุณแม่อุ้มท้องอยู่นั้น ที่บริเวณคอมดลูกจะมีมูกอุดกั้นอยู่ ในระยะเริ่มต้นของการคลอดหรือก่อนหน้านั้น มูกหรือมูกปนเลือดจะหลุดออกมาเปรอะกางเกงชั้นในหรือในขณะที่คุณเข้าห้องน้ำ หรือเรียกกันว่า มีมูกเลือดออกจากทางช่องคลอด 
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องมีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอดในระยะเริ่มต้นของการคลอดเสมอไป ดังนั้น อย่ากังวลใจถ้าคุณแม่ไม่มีมูกออกมาทางช่องคลอด บางครั้งมูกอาจออกมาในระยะอื่นของการเจ็บท้องคลอดก็ได้




 


น้ำเดิน


" น้ำเดิน " ที่พูดถึงนี้ ที่จริงแล้วก็คือน้ำคร่ำซึ่งคอยรองรับลูกน้อยในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่อร่างกายคุณพร้อมจะคลอดลูกแล้ว ถุงน้ำคร่ำจะแตกออกและน้ำคร่ำก็จะไหลออกมาจากช่องคลอด คุณแม่บางท่านบอกว่าได้ยินเสียง " โพละ " เบาๆ  ด้วยซ้ำเมื่อถุงน้ำคร่ำแตก และคุณแม่บางท่านอาจจะมีน้ำไหลออกมาเพียงเล็กน้อย แต่บางท่านก็ไหลออกมามาก 
หากคุณแม่มีน้ำคร่ำเดินตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการเจ็บท้องคลอด คุณแม่อาจมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องรักษาความสะอาดบริเวณปากช่องคลอด คุณแม่จึงไม่ควรใส่ผ้าอนามัยแบบสอด หรือมีเพศสัมพันธ์ หรือลงแช่น้ำอุ่น 
หากน้ำคร่ำเดินแล้ว คุณแม่ควรติดต่อสูติแพทย์ที่ดูแลโดยทันที เพื่อตรวจเช็คว่าถึงเวลาใกล้คลอดแล้วหรือยัง


การเจ็บท้องคลอด 

การเจ็บท้องคลอดเกิดจากการหดรัดตัวและผ่อนคลายเป็นจังหวะๆ ของกล้ามเนื้อบริเวณท้องและหลังของคุณแม่ และคุณแม่จะรู้สึกเจ็บมากกว่าอาการท้องแข็งในช่วงตั้งครรภ์ 
หากคุณแม่เข้าสู่ระยะเจ็บท้องคลอดแล้ว คุณแม่จะรู้สึกว่ามดลูกหดรัดตัวรุนแรงขึ้น นานขึ้น และถี่ขึ้นเรื่อยๆ 
โดยปกติแล้ว ในช่วงเริ่มต้น มดลูกจะหดรัดตัวทุกๆ 10 นาที โดยแต่ละครั้งกินเวลานาน 40 วินาที เมื่อถึงเวลาใกล้คลอดแล้ว มดลูก ก็ จะหดรัดตัวทุกๆ 30 วินาที และแต่ละครั้งกินเวลานานกว่า 1 นาที อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้เป็นเพียงค่าเฉลี่ย เพราะคุณแม่แต่ละท่านอาจมีระยะเวลาการบีบรัดตัวของมดลูกแตกต่างกันไป 

การทำให้การคลอดระยะที่หนึ่งผ่านไปได้ด้วยดี



  
ระยะที่สอง


ระยะที่สองของการคลอด จะเริ่มขึ้นเมื่อปากมดลูกของคุณแม่เปิดกว้างออกถึง 10 เซนติเมตร และจะสิ้นสุดลงเมื่อทารกคลอดออกมา หากท้องนี้เป็นท้องแรก ระยะที่สองอาจใช้เวลาถึง 1 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น แต่หากไม่ใช่ท้องแรก ก็จะใช้เวลาสั้นกว่านั้นมาก บางครั้งเพียงแค่ 5 นาทีเท่านั้น 
  
การเบ่งคลอด โดยธรรมชาติแล้ว ร่างกายของคุณแม่จะบอกเองว่าเมื่อไหร่ควรเบ่งคลอด ซึ่งเวลานั้น คุณแม่จะมีความรู้สึกอยากเบ่งจนสุดที่จะกลั้นไว้ได้ เมื่อหัวลูกโผล่พ้นออกมาทางช่องคลอด คุณหมออาจขอให้คุณแม่หยุดเบ่งก่อนและกลั้นลมเบ่งไว้ด้วยการหายใจสั้นๆ ตื้นๆ คล้ายคนหอบ ระยะเจ็บเบ่งนี้ เป็นระยะที่มีความละเอียดอ่อนและต้องอาศัยความอ่อนโยนพอสมควรเพื่อไม่ให้ปากช่องคลอดฉีกขาดมากเกินไป จากนั้น เมื่อกล้ามเนื้อขยายออกและมดลูกหดรัดตัวรอบใหม่ คุณแม่จึงค่อยออกแรงเบ่งอีกครั้ง และในที่สุดทารกก็จะคลอดออกมา คุณหมอจะสำรวจทารก ตัดสายสะดือ และห่อหุ้มลูกน้อยด้วยผ้านุ่มๆ ก่อนจะส่งให้คุณแม่อุ้ม “ยินดีด้วยนะคะ ลูกของคุณแม่คลอดออกมาอย่างปลอดภัยแล้ว”  

  
ระยะที่สาม


ฟังดูอาจเป็นเรื่องแปลกที่การคลอดยังไม่สิ้นสุดลงหลังจากที่ทารกคลอดออกมาแล้ว นั่นก็เพราะคุณแม่ยังต้องรอคลอดรกก่อน แต่ไม่ต้องกังวลใจไป สูติแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์จะอยู่กับคุณแม่เพื่อดูแลการคลอดระยะที่สามนี้จนสิ้นสุดการคลอดทารก คุณหมออาจเสนอการฉีดยาเพื่อช่วยเร่งการคลอดทารกให้เร็วขึ้น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น การคลอดระยะที่สามนี้จะใช้เวลาประมาณ 5 –15 นาที แต่หากคุณแม่ต้องการจะคลอดทารกเองตามธรรมชาติ ก็อาจใช้เวลานานกว่านั้นซึ่งอาจนานถึง 1 ชั่วโมง คุณแม่จะรู้สึกว่ามดลูกเริ่มต้นบีบรัดตัวใหม่ แต่จะไม่รุนแรงเท่ากับระยะที่สอง จากนั้นทารกที่หลุดลอกแล้วก็จะดันผ่านปากมดลูกที่เปิดกว้างอยู่ออกมาทางช่องคลอด เมื่อทารกคลอดออกมาหมดแล้ว คุณหมอจะนำทารกไปตรวจเพื่อให้แน่ใจว่ารกลอกตัวออกหมดแล้ว และจะกดบริเวณหน้าท้องของคุณแม่เพื่อให้แน่ใจว่ามดลูกเริ่มหดรัดตัวลงแล้ว 

การให้ลูกดูดนมแม่ทันทีหลังคลอด หากคุณแม่ได้โอบกอดลูกน้อยแบบเนื้อแนบเนื้อทันทีหลังคลอด คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่ให้ลูกดูดนมแม่ได้เลยทันที เพราะจะช่วยสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแม่กับลูก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น