วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เรื่องน่ารู้ เด็กทารก กับการกินนม กินน้ำ

เรื่องน่ารู้ เด็กทารก กับการกินนม กินน้ำ



เรื่องน่ารู้ เด็กทารก กับการกินนม กินน้ำ

   โดยปกติเด็กทารกแรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน กระเพาะอาหารของเขามีขนาดเล็ก ถ้าสังเกตจะเห็นว่า เด็กจะกินบ่อย (แต่กินน้อย) โดยเฉพาะถ้าให้ลูกกินนมแม่ ลูกจะกินน้อย แต่กินบ่อย เพราะว่ากระเพาะของเขายังมี ขนาดเล็ก และระบบการย่อย (น้ำย่อยต่างๆ) ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ ธรรมชาติจึงสร้างให้ลูกของเรากินแต่น้อย (แต่ถี่) เพื่อให้กระเพาะของเขาทำงานได้ดี

   แต่พ่อแม่หลายคนเข้าใจเอาเองว่า หลังจากที่ลูกกินนมแล้วควรจะกินน้ำเปล่าด้วย (ประมาณว่า คอจะได้ไม่ฝืด) จึงให้ลูกกินน้ำเปล่าต่อ ซึ่งทำให้น้ำเปล่าที่ลูกกินเข้าไปนั้น ทำให้กระเพาะของเขาอืด และยังไปละลายน้ำย่อยของเขา ทำให้การย่อยทำงานได้ไม่ดี และที่สำคัญที่พ่อแม่หลายคนลืมคิดไปก็คือ ในน้ำนมของแม่ (หรือนมกระป๋องก็ตาม) มีส่วนผสมของน้ำอยู่แล้ว และยิ่งในช่วงวัยแรกเกิดถึง 6 เดือนแรก เด็กทารกจะต้องการสารอาหารบ่อยกว่า ทำให้ทุกครั้งที่ลูกต้องการสารอาหาร (ลูกรู้สึกหิว) ลูกก็จะร้อง และเมื่อลูกได้กินนมแม่ (หรือนมกระป๋อง) ในน้ำนมเหล่านั้นก็จะมีน้ำเป็นส่วนผสมด้วย ภาวะขาดน้ำในเด็กจึงเป็นไปได้น้อยมาก

   ดังนั้นการที่เราให้ลูก (เด็กวัยแรกเกิด – 6 เดือน) กินน้ำเปล่าหลังจากกินนมนั้น จะยิ่งทำให้การดูดซึมสารอาหารทำงานไม่ดี ลูกจะมีอาการท้องอืด (เพราะระบบย่อยไม่ดี) และหากทำซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ เมื่อลูกโตขึ้น ลูกก็จะมีระบบการย่อยอาหารที่ไม่ดีตามไปด้วย

   บทความน่ารักๆ สำหรับคุณแม่ที่ช่างสังเกตเวลาลูกดูดนมว่า ทำไมบางครั้งลูกจึงหยุดดูดนมบ้าง เพื่อการรับรู้ สิ่งตอบสนองจากแม่ไง

   นับเป็นเรื่องที่แปลกมาก เนื่องจากมีการทดลองทางการแพทย์แล้วได้ผลลัพท์ที่น่าทึ่ง โดยทีมแพทย์ได้ทดลองจับเวลาระหว่างการให้นมลูก โดยปล่อยให้เด็กได้ดูดนมตามจังหวะปกติของเขา และเมื่อเด็กหยุดดูดนมก็ไม่ต้องเขย่าหรือพูดคุย กับอีกกลุ่มเมื่อเด็กหยุดดูดนมก็ให้เขย่าตัวเบาๆ พร้อมกับ ยิ้ม จ้องมอง และพูดคุยกับลูก

ผลการทดสอบที่ได้สรุปได้ดังนี้

   ต่อให้เราไม่เขย่าตัวลูก (จังหวะที่ลูกหยุดดูด) ลูกก็จะกลับมาดูดนมได้เองตามจังหวะที่มั่นคง
ยิ่งเราพูดคุย จ้องมอง และเขย่าตัวลูก ลูกจะยืดจังหวะการหยุดนั้นออกไป เพราะเขากำลังรับรู้และพยายามสื่อสารกับสิ่งที่เขาได้รับรู้มา (นั้นคือการพูด การเขย่า จากพ่อแม่)

   ปริมาณการกินนมของเด็กทั้ง 2 กลุ่ม เท่ากัน (จะเขย่าหรือไม่เขย่า ก็ไม่ได้กินนมมากขึ้นเท่าไรนัก)
การพูดคุยกับลูกขณะลูกกำลังดูดนมไปด้วย (โดยเฉพาะดูดนมแม่) จะทำให้ลูกไม่หลับคาอกแม่มากกว่าปล่อยให้ลูกดูดนมเงียบๆ ลูกจะสามารถจดจำกลิ่นและเสียงของพ่อแม่ตัวเองได้ภายใน 4-7 วันนับจากวันแรกเกิด 

ดังนั้น เวลาให้นมลูกครั้งต่อไป คุณแม่ควรจะพูดคุยกับลูกให้มากๆ ยิ้มเล่นกับลูก ให้ลูกมีรอยยิ้มอยู่เสมอ หัวเราะ เพื่อการเรียนรู้ที่ดีสำหรับเด็ก

    บางครั้ง คนเป็นแม่บางคนอาจจะรู้สึกเครียด เพราะได้รับแรงกดดันจากญาติผู้ใหญ่ ทำไมไม่ให้ลูกกินน้ำ ทำไมไม่ให้ลูกกินอาหารเสริม ทำไมให้ลูกกินแต่นม โดนทักนานๆครั้งไม่เท่าไหร่ โดนทักบ่อยเข้าก็กลายเป็นความเครียด ขอให้เรานึกไว้เสมอเลยว่าเราทำเพื่อลูก ใครจะว่าอะไรไไม่สนใจ ใจแข็งเข้าไว้ลูกของเรา เราต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกเสมอ จริงไหม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น